วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556

บันทึกหลังการเรียนครั้งที่ 4

อาจารย์แจกกระดาษมาคนล่ะ 2 แผ่น
แล้วให้แบ่งกระดาษเป็น 8ช่องแล้วตัด ให้นักศึกษาวาดรูปต่อเนื่อง




รูปที่วาดคือการเจริญเติบโตของส้มและค่อยๆร่วงลงพื้น

ดูวีดีโอเรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ
       ร่างกายเราจะขับเหงื่อออกมายิ่งเสียเหงื่อมากก็ยิ่งต้องดื่มน้ำมากๆ นำแครอทและแอปเปิ้ลมาปั่นรวมกันแล้วนำมาบีบก็จะได้น้ำออกมาด้วยสิ่งต่างๆบนโลกนี้ล้วนมีน้ำเป็นส่วนประกอบ ถ้าร่างกายขาดน้ำก็จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียการเกิดฝนคือการที่น้ำได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เกิดไอลอยขึ้นฟ้าเกิดก้อนเมฆอากาศบนฟ้าเย็นมากเมื่อเมฆไปเจอความเย็นก็จะเกิดหยดน้ำที่เรียกว่าฝน

คำถาม ทำไมเรือถึงลอยน้ำได้
คำตอบคือ  การลอยของวัตถุ 

วัตถุสามารถลอยได้ในของเหลวใดๆ ก็เพราะวัตถุนั้นมีความหนา
แน่นน้อยกว่า
ของเหลวชนิดนั้น เช่น ไม้ชิ้นหนึ่งมีความหนาแน่น 0.9 G/cm3 สามารถลอยได้
ในน้ำซึ่งมีความหนาแน่น 1 G/cm3 
การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจาก วัตถุนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ 
และน้ำก็มีแรงดันวัตถุให้ลอยขึ้นมา แรงนี้เรียกว่า “แรงลอยตัวหรือแรงพยุง” 
ซึ่งแรงนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งวัตถุมีพื้นที่สัมผัสกับน้ำมากเท่าไหร่ 
หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก (สังเกตจากปริมาณน้ำในขันหรือชามที่สูงขึ้น) 
ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลง และแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้
ดังนั้นหากแผ่วัตถุให้มีขนาดใหญ่และมีขอบโค้งขึ้นมาคล้ายเรือ วัตถุนั้นก็จะลอยตัวได้ดี 


บันทึกหลังการเรียน

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม 2556

ดูวีดีโอเรื่อง มหัศจรรย์ของแสง


แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) 
ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น 
หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วง
ความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) 
ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) 
ด้วย

ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่น

สะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมี
ความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้น
เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์
สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ใน
สุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที

จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสงได้ดังนี้

  • วัตถุโปร่งใส คือวัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
  • วัตถุโปร่งแสง คือวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
  • วัตถุทึบแสง คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
สมบัติพื้นฐานของแสงได้แก่
  • ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สาย                    ตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
  • ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์                      ในรูปสีของแสง
  • โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่               สามารถรับรู้ได้

บันทึกหลังการเรียน

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2556
อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกุล่มแล้วศึกษาตามหัวข้อที่กำหนด
1.ความหมายญของวิทยาศาสตร์
2.ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3.การเรียนรู้
4.แนวคิดพื้นฐาน
5.ทักษะและกระบวนการ


ความหมาย

  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 1075) ได้ให้ความหมายว่า“วิทยาศาสตร์  คือ ความรู้ที่ได้โดยการสังเกต และค้นคว้าจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ, วิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ” 

ความสำคัญ
 มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบันตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ ช่วยให้เกิดพัฒนาการเทคโนโลยี เป็นส่วนสำคัญที่ขะช่วยให้เกิดการศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มขึ้น

การเรียนรู้
 เกิดจากการเชื่อมโยงเส้นประสาท ทำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นมามีการรับรู้โดยการคิด

การทำงานกลุ่ม

บันทึกหลังการเรียน

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2556


การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนการสอนในวิชานี้
อาจารย์ให้วิเคราะห์เกี่ยวกับวิชานี้ว่า 

ได้ความรู้อะไร ? 

 ได้ทักษะอะไร ? 

 เราจะนำไปใช้อย่างไร ?